♥ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฑิฆัมพร สุดาเดช นะคะ♥

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 
#เครื่องมือในการเรียนรู้ คือ ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นทักษะที่สำคัญเพื่อจะเรียนรู้ในระดับต่อไป
#หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ คือสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเป็นวิทยาศาสตร์
 

#การเอาเนื้อหาไปใช้สอนเด็กโดยตรง..ไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้องเพราะการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นเน้นที่การเรียนรู้โดยการลงมือกระทำเพื่อเด็กจะได้เกิดประสบการณ์ที่สำคัญ..สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างดี
--->กลุ่มโอม,ฝน, สอนหน่วยการเรียนรู้ เรื่องไข่
วันจันทร์ : คุณครูนำไข่มา 3 อย่าง มี ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา
วันอังคาร : วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ไข่2แบบ 
วันพุธ : เล่านิทานแล้วให้เด็กเลือกเมนูที่ทำจากไข่ 2 อย่าง ระหว่าง ไข่เจียวและไข่ลูกเขย แล้วนำรูปตนเองมาแปะ
วันพฤหัสบดี : ไข่มีประโยชน์และโทษอย่างไร
วันศุกร์ : Cookingอาหารที่ทำจากไข่



--->กลุ่ม ฝน,แนน,แอ่มแอ้ม หน่วยไข่จ๋า

--->กลุ่ม นุ่น,โอ,บี,กุ้ง,สา หน่วยโรงเรียนของเรา
สา..ออกมาเล่านิทาน





--->กลุ่ม ฝน,ปูนิ่ม,ริตา,จ๋า หน่วยน้ำ 
จ๋า พูดเรื่องประโยชน์และโทษของน้ำ


เพื่อนร้องเพลง อาบน้ำ

  
เพื่อนๆ ทำท่าทางและร้องเพลง
สรุปงานวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
ของ
ปณิชา มโนสิทธยากร
กรอบแนวคิดในการวิจัย
เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
• การจำแนกเปรียบเทียบ
• การจัดหมวดหมู่
• การเรียงลำดับ
• การบอกตำแหน่ง
• การรู้ค่าจำนวน
         การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 13.00-13.40 น.รวม 24 ครั้ง ครั้งละ 2 ถึง 3 เกม มีลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ก่อนการเล่นเกม ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ จำนวน 3 วัน วันละ 2 – 3 ด้าน
ด้านที่ 1 แบบทดสอบวัดการเปรียบเทียบ
ด้านที่ 2 แบบทดสอบวัดการจัดหมวดหมู 
ด้านที่ 3 แบบทดสอบวัดการเรียงลำดับ
ด้านที่ 4 แบบทดสอบวัดการบอกตำแหน่ง 
ด้านที่ 5 แบบทดสอบวัดการรู้ค่าจำนวน
2. ผู้วิจัยดำเนินการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตด้วยตนเอง ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเล่น 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
3. ในการดำเนินการเล่นเกมในแต่ละวัน เด็กจะแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คนเด็กสามารถเลือกเข้ากลุ่มด้วยตนเอง ในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนจะจัดวางโต๊ะเป็นกลุ่มและ
จัดอุปกรณ์เกมให้พอกับจำนวนของกลุ่มโดยมีแผ่นหลักที่เด็กเลือกเองและมีแผ่นย่อยในจำนวนที่มากกว่าเพื่อให้เด็กสามารถเลือกต่อได้หลากหลาย รู้จักสักเกต เปรียบเทียบขนาด จำนวน การวางตำแหน่งและเรียงลำดับในรูปเรขาคณิตได้ถูกต้อง ในแต่ละกลุ่ม เมื่อเล่นเสร็จแล้วเด็กจัดเก็บเข้าชุดเดิมแล้วจึงสลับกลุ่มเข้ากลุ่มใหม่ โดยแต่ละกลุ่มจะไปเข้ากลุ่มที่ตนเองเลือกพร้อมกัน ในแต่ละวันจะจัดการเล่นเกมการศึกษาตามแผนการจัดกิจกรรม จำนวน 2 ถึง 3 เกม
4. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับการทดสอบก่อนการทดลองจำนวน 5 วัน วันละ 1 ชุด
5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามสถิติ เพื่อสรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการทดลองตามลำดับ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
2. ระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
3. การเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
        การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต พบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาคณิตศาสตร์สูงขึ้น ร้อยละ 89.53 ของความสามารถพื้นฐานเดิมก่อนการทดลอง โดยเด็กปฐมวัย มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่มากเป็นอันดับแรกรองลงมาคือด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการบอกตำแหน่ง และด้านการเรียงลำดับตามลำดับ
        ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตเพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครู และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น