♥ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฑิฆัมพร สุดาเดช นะคะ♥

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 
#เครื่องมือในการเรียนรู้ คือ ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นทักษะที่สำคัญเพื่อจะเรียนรู้ในระดับต่อไป
#หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ คือสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเป็นวิทยาศาสตร์
 

#การเอาเนื้อหาไปใช้สอนเด็กโดยตรง..ไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้องเพราะการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นเน้นที่การเรียนรู้โดยการลงมือกระทำเพื่อเด็กจะได้เกิดประสบการณ์ที่สำคัญ..สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างดี
--->กลุ่มโอม,ฝน, สอนหน่วยการเรียนรู้ เรื่องไข่
วันจันทร์ : คุณครูนำไข่มา 3 อย่าง มี ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา
วันอังคาร : วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ไข่2แบบ 
วันพุธ : เล่านิทานแล้วให้เด็กเลือกเมนูที่ทำจากไข่ 2 อย่าง ระหว่าง ไข่เจียวและไข่ลูกเขย แล้วนำรูปตนเองมาแปะ
วันพฤหัสบดี : ไข่มีประโยชน์และโทษอย่างไร
วันศุกร์ : Cookingอาหารที่ทำจากไข่



--->กลุ่ม ฝน,แนน,แอ่มแอ้ม หน่วยไข่จ๋า

--->กลุ่ม นุ่น,โอ,บี,กุ้ง,สา หน่วยโรงเรียนของเรา
สา..ออกมาเล่านิทาน





--->กลุ่ม ฝน,ปูนิ่ม,ริตา,จ๋า หน่วยน้ำ 
จ๋า พูดเรื่องประโยชน์และโทษของน้ำ


เพื่อนร้องเพลง อาบน้ำ

  
เพื่อนๆ ทำท่าทางและร้องเพลง
สรุปงานวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
ของ
ปณิชา มโนสิทธยากร
กรอบแนวคิดในการวิจัย
เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
• การจำแนกเปรียบเทียบ
• การจัดหมวดหมู่
• การเรียงลำดับ
• การบอกตำแหน่ง
• การรู้ค่าจำนวน
         การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 13.00-13.40 น.รวม 24 ครั้ง ครั้งละ 2 ถึง 3 เกม มีลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ก่อนการเล่นเกม ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ จำนวน 3 วัน วันละ 2 – 3 ด้าน
ด้านที่ 1 แบบทดสอบวัดการเปรียบเทียบ
ด้านที่ 2 แบบทดสอบวัดการจัดหมวดหมู 
ด้านที่ 3 แบบทดสอบวัดการเรียงลำดับ
ด้านที่ 4 แบบทดสอบวัดการบอกตำแหน่ง 
ด้านที่ 5 แบบทดสอบวัดการรู้ค่าจำนวน
2. ผู้วิจัยดำเนินการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตด้วยตนเอง ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเล่น 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
3. ในการดำเนินการเล่นเกมในแต่ละวัน เด็กจะแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คนเด็กสามารถเลือกเข้ากลุ่มด้วยตนเอง ในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนจะจัดวางโต๊ะเป็นกลุ่มและ
จัดอุปกรณ์เกมให้พอกับจำนวนของกลุ่มโดยมีแผ่นหลักที่เด็กเลือกเองและมีแผ่นย่อยในจำนวนที่มากกว่าเพื่อให้เด็กสามารถเลือกต่อได้หลากหลาย รู้จักสักเกต เปรียบเทียบขนาด จำนวน การวางตำแหน่งและเรียงลำดับในรูปเรขาคณิตได้ถูกต้อง ในแต่ละกลุ่ม เมื่อเล่นเสร็จแล้วเด็กจัดเก็บเข้าชุดเดิมแล้วจึงสลับกลุ่มเข้ากลุ่มใหม่ โดยแต่ละกลุ่มจะไปเข้ากลุ่มที่ตนเองเลือกพร้อมกัน ในแต่ละวันจะจัดการเล่นเกมการศึกษาตามแผนการจัดกิจกรรม จำนวน 2 ถึง 3 เกม
4. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับการทดสอบก่อนการทดลองจำนวน 5 วัน วันละ 1 ชุด
5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามสถิติ เพื่อสรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการทดลองตามลำดับ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
2. ระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
3. การเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
        การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต พบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาคณิตศาสตร์สูงขึ้น ร้อยละ 89.53 ของความสามารถพื้นฐานเดิมก่อนการทดลอง โดยเด็กปฐมวัย มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่มากเป็นอันดับแรกรองลงมาคือด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการบอกตำแหน่ง และด้านการเรียงลำดับตามลำดับ
        ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตเพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครู และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป
ครั้งที่ 14
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556

การนำเสนอก็ผ่านไปแล้ว ๒ กลุ่ม ดังนี้
๑.หน่วยเรื่อง ครอบครัวของฉัน
๒.หน่วยเรื่อง ผลไม้
วันนี้นำเสนอหน่วยเรื่อง สัตว์น่ารัก  
วันจันทร์ สอนเรื่องชนิดของสัตว์
-แตกแผนผังความคิด
-สัตว์บก สัตว์ปีก ที่อยู่อาศัย การใช้ชีวิต
1.เด็กๆรู้จักสัตว์อะไรบ้าง เมื่อเด็กๆตอบให้ยกมือตอบทีละคนแล้วคุณครูก็เขียนผังความคิด
2.เอาอุปกรณ์มาแต่ของเหล่านั้นต้องปิดไว้ห้ามให้เด็กๆเห็นแล้วจึงถามว่า สิ่งที่คุณครูเอามาวันนี้เด็กๆรู้ไหมคะว่าคืออะไร?
3.เด็กๆมาช่วยคุณครูนับซิว่าสัตว์ที่คุณครูนำมามีจำนวนเท่าไหร่?แล้วนำมาวางเรียงกันจากซ้ายไปขวาแล้วเอาเลขมาปักที่ท้ายของทั้งหมดตัวสุดท้ายที่นับเป็นจำนวนสัตว์ทั้งหมด
4.แยกกลุ่ม สัตว์ที่มีปีกกับไม่มีปีก(โดยให้เด็กออกมาหยิบ)ดูซิว่าเพื่อนหยิบสัตว์ปีก ตัวอะไรบ้าง?สัตว์ปีกมีทั้งหมดกี่ตัว..และที่เหลือคือสัตว์ที่ไม่มีปีก
5.เปรียบเทียบเด็กๆคิดว่าสัตว์ที่มีปีกและไม่มีปีกเท่ากันหรือไม่เท่ากัน หยิบออกอย่างละ1ตัว แล้วถามว่าสัตว์อะไรที่หมดก่อน..แล้วสรุปว่า"สัตว์ที่มีปีกน้อยกว่าสัตว์ที่ไม่มีปีก".."สัตว์ที่ไม่มีปีกมากกว่าสัตว์ที่มีปีก"   
ภาพตัวอย่างเปลี่ยนจากไม้ไอศกรีมเป็นไม้ลูกชิ้นแทน..หากจะปักลงที่โฟม

วันอังคาร สอนเรื่องการวิเคราห์ข้อมูล
1.ทบทวนการสอนของวันจันทร์"เด็กๆลองบอกดูซิว่าเมื่อวานเด็กๆรู้จักสัตว์อะไรไปบ้างแล้ว"
2.เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูเอาสัตว์อะไรมาบ้าง?(คุณครูยกมาแค่2ชนิดคือ หมีและไก่)
3.ให้เด็กๆสังเกตคุณครูเป็นคนเขียนตารางแล้วก็วิเคราะห์ร่วมกัน
4.ต่อมาเป็นการสังเคราะห์
วันพุธ เล่านิทาน
วันพฤหัสบดี การดูแลรักษา

วันศุกร์ ประโยชน์
เด็กๆบอกคุณครูซิว่าช้างมีประโยชน์อะไรบ้าง?
-สร้างรายได้
-สัตว์เลี้ยง


วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 13
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 
สรุปผลการเรียนรู้โดยการใช้ผังความคิด


**วันนี้กลุ่มของฉันออกไปนำเสนอการสอน
หน่วยเรื่อง ครอบครัวของเรา

สมาชิกในครอบครัว
กลุ่มของบี แอน และดา นำเสนอหน่วยการเรียนรู้
เรื่อง ผลไม้

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 12
วันที่ 30 มกราคม 2556 

*การสอนไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ เพราะเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
*นิทานดีที่สุด เจ๋งกว่าคือทัศนศึกษา สุดยอดกว่าเปิดสารคดี ร้องเพลงก็ดีเหมือนกัน
-->หมายเหตุ ทำMind Mappingคณิตศาสตร์
ทำแผนผังมโนทัศน์จากโปรแกรม MindMapper
ครั้งที่ 11
วันที่ 23 มกราคม 2556
#หน่วยการเรียนรู้ที่แบ่งกลุ่มทำมา
>>แตกหน่วยการเรียนรู้เป็น 5 วัน..
คือวันจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ 
โดยแตกออกเป็นตารางแบบนี้ค่ะ^^

เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เต่า ไข่นกกระทา 555555
ครั้งที่ 10
วันที่ 16 มกราคม 2556
วันครู
ตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุกๆปี
        จุดประสงค์ในการมีวันครูนี้ เพื่อให้นักเรียนได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ของชาติที่ได้อบรมสั่งสอนเรามาตั้งแต่เล็ก ทำให้เราเป็นคนดีรู้วิชา เพราะฉะนั้นครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างมากในวงการ การศึกษา ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ รวมทั้งเป็นอาชีพที่ถือว่ามีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างมาก

ความหมายของครู


        ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอนแนะนำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศ ชาติ เป็นผู้ที่มีหน้าที่สอน อบรมเกี่ยวกับวิชาความรู้ การอ่านเขียน รวมไปถึงการให้ความรู้และแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน (คำว่าครูนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต คำว่า "คุรุ" และภาษาบาลี คำว้า "ครุ" , "คุรุ")
วันครูแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมาของวันครูแห่งชาติ


        วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลและให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

        ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"หอประชุมของจุฬาลงกร ณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา

        ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

        จากแนวความคิดนี้ กอรปกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้อง ให้มี "วันครู" เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสีย สละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
เพลง รางวัลให้ครู

        ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจา นุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้

        การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่น หลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือหนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครู


งานวันไหว้ครูในปัจจุบัน ได้ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้

  • 1. กิจกรรมทางศาสนา
  • 2. พิธีรำลึกถึงครูบาิจารย์ โดยมีพิธีปฏิญานตน รวมไปถึงการกล่าวระลึกถึงพระคุณของครู
  • 3. กิจกรรมจัดเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับคุณครู อาจจะเป็นการแข่งขันกีฬาเพื่อความสามัคคี หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ
    วันนี้พวกเราได้ไหว้อาจารย์จินตนากัน


บทกล่าววันไหว้ครู และขั้นตอนในการจัดกิจกรรม


ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)

ประพันธ์โดย พระวรเวทย์พิสิฐ (วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์)
บทไว้ครู ปาเจราจริยา โหนติ
ปัญญาวุฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง

จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้

  • ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู 
  • ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
  • ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้ โอวาทแก่ครูที่มาประชุม
เพลง ครูในดวงใจ
วันนี้มีทั้งขนมอร่อยและฟังเทศนา

จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู


  • เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  • ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
  • ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
  • รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
  • ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วย กฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
  • ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
  • ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผล งานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
  • ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
  • สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและสถานศึกษา
  • รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน


Doodle Google วันครู
วันครูGoogle
ครั้งที่ 9
วันที่ 9 มกราคม 2556
วันนี้เรียนเรื่องมาตรฐาน
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
เรื่องสมาชิกในห้องเรียน
อุปกรณ์คือ ตารางที่สามารถโยกย้ายได้
รูปสัตว์ รูปผลไม้ รูปผัก แบ่งรูปเป็นกลุ่ม
หากใครมาโรงเรียนก่อนก็เอารูปประจำตัว
ของตนเองไปเสียบไว้อันดับแรกในแถวของกลุ่มตนเอง
อันดับ 2 อันดับ 3 ก็ต่อกันไป
และสามารถนับสมาชิกที่มาและขาดในแต่ละกลุ่ม
ได้อย่างง่ายดาย

 
การใช้ปฏิทิน คือ ให้เด็กๆได้รู้ว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่
โดยคุณครูเป็นคนวงกลมพร้อมกับเด็ก
เด็กจะได้รู้ว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่ เดือน พ.ศ. อะไร
และเด็กสามารถจำได้ว่าเลขตัวนี้เรียกว่าอะไร
และในแต่ละวันสภาพภูมิอากาศ
ในแต่ละท้องที่แตกต่างกันคุณครูสา
มารถเขียนลงไปได้
ว่าแถวบ้านของใครภูมิอากาศเป็นยังไง

เช่น ท้องฟ้าแจ่มใส
ฝนตก
ท้องฟ้าครึ้ม
ท้องฟ้ามืดครึ้ม
*ฏิทินการเพิ่มจำนวนในแต่ละวัน
คุณครูสร้างขึ้นมาเองได้..และเขียนเพิ่มวันที่
ในแต่ละวันจะทำให้เด็กๆรู้และเขียนได้โดย
ที่ไม่ต้องเอาปฏิทินมาวงเพราะจะทำให้เด็กรู้ตัวเลขล่วงหน้าแล้ว








สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
 
*ใช้สอนน้ำหนัก ซ้าย ขวา ระหว่าง ผ่าน ตรงกลาง

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกียวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์