♥ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฑิฆัมพร สุดาเดช นะคะ♥

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 6
วันที่ 12 ธันวาคม 2555

 #อาจารย์ได้สอนกิจกรรมว่า กิจกรรมมี 2 ลักษณะ คือ อิสระและตามครูบอก
>วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนจับคู่กันแล้วไปหยิบกล่องมาไว้ในมือคนละ1ใบ แล้วเขียนว่าสามารถใช้สอนจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้อย่างไร 

>หลังจากนั้นก็ให้จับกลุ่ม 10 คนประกอบกล่องให้เป็นรูปร่าง แล้วนำมาจัดเป็นนิทรรศการ
กิจกรรมนี้สนุกมาก^^ 

**งานชิ้นต่อไป ให้ตัดกระดาษเป็นกล่องวงกลม ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1 นิ้ว 1.5 นิ้ว 2 นิ้ว อย่างละ 3 สี มีสีเหลือง สีเขียวเข้มและสีชมพู รวมเป็น 9 ชิ้น

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 5
วันที่ 5 ธันวาคม 2555
**หมายเหตุ
    เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ 2555 

ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อ
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
     พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
     - บิดา (พ่อ)
     - ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
     - สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
     วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือ เป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย
      วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาล ผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราช พิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ” 
 ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

     “...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นร่มเย็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติและต่างร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่โดยนึก ถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างและนำไปปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ…”
      (พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง)  
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง เมื่อพุทธศักราช 2499 มีพระราชประสงค์ที่จะทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนาตามโบราณราชประเพณี นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชภาระสนองพระเดชพระคุณในการ ทรงพระผนวชในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทน ราษฎร
     ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

2.จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ 
      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการ จัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ
ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน 
    ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัด ให้มี วันพ่อแห่งชาติ
5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ 

      5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุง สุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ
1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน 
ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ
     วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ
 “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรง ปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย
บทบาทของพ่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ
1.       กันลูกออกจากความชั่ว
2.       ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี
3.       ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน
4.       ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี 
5.       มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร 
ในส่วนของพ่อเอง ก็ต้องตั้งใจฝึกตนเองให้ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกให้ได้  หาเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้มีเวลาแนะนำอบรมสั่งสอนกันเพื่อครอบครัวจะได้ เป็นครอบครัวอบอุ่น โดยในวันพ่อที่จะถึงนี้ ก็ขออวยพรให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข ดูแลลูกๆ และอยู่กับลูกๆ ไปตราบนานเท่านาน

กลอนวันพ่อ

อยากให้พ่อ มาเห็น ความเป็นอยู่
จากการสู้ งานหนัก สร้างหลักฐาน
สร้างสรรค์ลูก ปลูกฝัง มาตั้งนาน
ลูกมีบ้าน งานทำ ไม่ลำเค็ญ

หยาดเหงื่อพ่อ พร้อมแม่ แต่ละหยาด
คือประกาศ ความดี มีให้เห็น
พระคุณพ่อ เพียงพรหม พาร่มเย็น
ผ่านทุกข์เข็ญ กว่าใคร ในโลกา

เพียงเพื่อลูก ได้มี ชีวิตรอด
พ่อทนกอด อดกลั้น ทุกปัญหา
เพียงลูกรัก จักเกิด เลิศปัญญา
พ่ออุตส่าห์ หาเงิน เกินกำลัง

พ่อทำได้ ทุกอย่าง เพื่อสร้างลูก
พ่อพันผูก ปลูกจิต ให้คิดหวัง
พ่อสอนอย่า เย่อหยิ่ง เขาชิงชัง
พ่อเติมพลัง ให้สู้ เป็นผู้คน

คำพ่อสอน ทุกอย่าง สร้างชีวิต
ให้มีสิทธิ์ โบยบิน ทุกถิ่นหน
ดั่งนกน้อย คล้อยชม ล่องลมบน
นั่นคือผล งานพ่อ ไม่ท้อทำ

อยากให้พ่อ มาเห็น ความเป็นอยู่
เพื่อได้รู้ ผลงาน นานฉนำ
ไม่มีพ่อ ยลยิน เพราะสิ้นกรรม
ซาบซึ้งคำ พ่อสั่ง หลั่งน้ำตา
เพลงเกี่ยวกับพ่อ
เพลง ตามรอยพระราชา ของ พี่เบิร์ด ธงไชย
 

ครั้งที่ 4
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 
#วันนี้อาจารย์เข้าสอนเวลา 9.30 น 
เพราะได้เป็นประธานเปิดงานที่สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 
>>อาจารย์ได้พูดเรื่องคณิตศาสตร์ถึง รูปร่าง รูปทรง ปริมาณ ตัวเลข การจำแนก จำนวนและเลขาคณิต

ขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

@ นิตยา ประพฤติกิจ (2541 : 17 - 19) กล่าวว่า ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ ดังต่อไปนี้
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 3 เซต คือ นักเรียน ครูประจำชั้น ครูช่วยสอน เป็นต้น
10. เศษส่วน (Fraction) ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยว กับครึ่งหรือ
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม


@เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88)
ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ 

**อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ทำงานส่ง โดยให้วิเคราะห์กิจกรรมจะจัดให้กับเด็กอย่าไร
ของอาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ  ( 12 ข้อ )
ครั้งที่
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555
      เรียนที่ห้อง 234 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วช่วยกันสรุปงานจากการที่ไปหาเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือ ความหมายคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอน หลักการสอนและขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์
**สมาชิกกลุ่มของเรามีดังนี้
นางสาวเนตรนภา  วิรุณพันธ์
นางสาวฑิฆัมพร    สุดาเดช
นางสาวนฤมล       มะลิวัลย์
**ร่วมกันสรุปดังนี้
1.ความหมายของคณิตศาสตร์ (จากหนังสือ คณิตศาสตร์สนุกคิดกับคณิตกับวิธีพิชิตโจทย์)
       คณิตศาสตร์เป็นการศึกษา  เป็นสิ่งสร้างสรรค์จิตใจ คำว่าคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ความหมายเพียงตัวเลขซึ่งเกี่ยวกับจำนวนต่างๆและการคำนวณ หรือเกี่ยวกับโครงสร้างทั้งหลายที่แสดงไว้ด้วยสัญลักษณ์และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์  ซึ่งสรุปได้ดังนี้ คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความคิด คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมความรู้ คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแผน  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง (แม็กซ์ แบล็ค ,ยุพิน พิพิธกุล)
2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ (จากหนังสือ เทคนิคการสอนคณิตศาสร์,คณิตศาสตร์1,คู่มือคณิตศาสตร์ด้วยเกม)
       ให้ความรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นความรู้ที่รวบรวมไว้อย่างมีระเบียบ ทั้งประสบการณ์ทางกายภาพ โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ  ที่หลากหลายและได้สัมผัสทุกสิ่งด้วยตนเอง โดยการจัดความรู้ให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมโดยใช้กรละเล่นพื้นบ้าน สอนการเปรียบเทียบ การวัดระยะทาง การบวกลบคูณหาร สอนเทคนิคโจทย์เลข ประสบการณ์ทางสังคม ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน มีโอกาสพูดคุยกับผู้อื่น กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียนรู้ แก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเล่นบทบาทสมมติ เล่นเกม (รุ่งอรุณ ลียะวณิช,ออซูเบล,ทีมวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
3.ขอบเขตคณิตศาสตร์ (จากหนังสือ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย,คณิตศาสตร์4)
       เนื้อหาเริ่มด้วยความรู้เบื้องต้น คุณสมบัติของจำนวนเต็มและขั้นตอนของยุคคลิด ขอบข่ายคณตศาสตร์เด็กปฐมวัย โดยนำเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้ การจัดกลุ่มหรือเซต ,จำนวน ,ระบบจำนวน ,ความสัมพันธ์ระหว่างเซต ,สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม ,ลำดับที่ความสำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์ .การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ,การวัดรูปทรงเรขาคณิต ,สถิติและกราฟ (เยาวภา เดชะคุปต์ , เดชา พนมพันธ์)
4.หลักการสอน (จากหนังสือคณิตศาสตร์ , สนุกกับการคิด)
       การสอนแบบอภิปราย หมายถึง วิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักทำงานเป็นกลุ่ม ผู้เรียนจะระดมความคิดเพื่อพิจารณาปัญหา ช่วยกันหาข้อเท็จจริงหาเหตุผลร่วมกัน การสอนแบบอภิปรายฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดกล้าแสดงความคิดเห็น รู้จักค้นคว้า แก้ปัญหาร่วมกันแบบประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาความคิด การพูด และการรู้จักฟัง สามารถสรุปสาระสำคัญจากอภิปรายได้ การสอนคณิตศาสตร์มีหลักการดังนี้ สอนให้เหมือนรูปแบบของศิลปะ